วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

Project 5 : ภาพถ่ายที่ถูกใช้นำเสนอใน Diptych Project




 การถ่ายแบบ  Diptych เป็นการถ่ายภาพ แบบ สถานที่เดียวกัน แต่คนละเวลา ที่มีความตรงกันข้ามกัน

ภาพที่กลุ่มเลือกส่ง คือ ภาพล่างสุด ที่ถ่ายระหว่างทุ่งหญ้าสีเขียว และ ทุ่งหญ้าที่แห้ง

ข้อคิดเห็นของอาจารย์ : เลือกรูปส่งได้ถูกต้องและดีที่สุด

ถ่ายภาพโดย : สมาชิกในกลุ่ม นายณัฐวุฒิ  รุ่งวิสัย

วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

Project 4 : วีดีโอ แนว Diptych

นำเสนอผ่านความแตกต่างแต่ในสถานที่เดียวกัน
ผ่านความคิด คนหนึ่งเด็กเรียน  คนหนึ่งเด็กเล่น เล่นukulele ไม่ทำการบ้าน นอนอย่างเดียว


ผ่านลายเส้นฉากลิฟต์-บันใด
ฉาก เปิดประตู

ผสมผสานความลงตัวเป็นวีดีโอ


นายชินภัทร  จันทร์เรือง  563050171-5
นายณัฐวุฒิ  รุ่งวิสัย  563050172-3
นายปิยภัทร  เสลาวรรณ์  563050176-5นายกิตติภูมิ  เรืองเสน  563050293-1


วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บทความวิชาการ : มารู้จักแอพพลิเคชั่นเพือ่นการศึกษากันเถอะ ( Pingpong )

“การเพิ่มบทบาทของผู้เรียนในชั้นเรียน  คือการวัดความเซียนในตัวครู”
ในปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งที่ถูกนิยมใช้ในกันได้หลายวงการอย่างไม่หยุดนิ่ง การพัฒนาของเครือข่าย  ปัจจุบันมุ่งเน้นให้อินเตอร์เน็ตมีศักยภาพเต็มที่ในการใช้งานมากขึ้น เน้นให้ทุกคนมีส่วนรวมในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆลงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตร่วมกัน รวมไปถึงทางด้านการศึกษา  การศึกษายุคปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัยประโชยน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น การผลิตสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น หรือ ทางแอพพลิเคชันต่างๆ ทำให้ในทุกวันนี้ มีสื่อแอพพลิเคชันออนไลน์ต่างๆที่เน้นไปทางด้านการศึกษามากขึ้น คณะศึกษาศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นส่วนหนึ่ง และส่วนสำคัญของระบบการศึกษาไทย จึงมีการพัฒนาระบบพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของคณาจารย์นำมาใช้ซึ่ง เทคโนโลยีทางการศึกษาหลากหลายประเภท  ping-pong คือแอพพลิเคชันหนึ่ง ที่นำมาใช้ในระบบการศึกษามากขึ้น เพราะเป็นการโต้ตอบ สำหรับผู้เรียน-ผู้สอน การใช้ pingpong spot netork ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ เพราะผู้เรียนได้มีกิจกรรมทำระหว่างการจัดการเรียนการสอน และการเรียนโดยใช้แอพพลิเคชันเป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตามหลักคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในศตวรรษที่ 21                                                                     แอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong)
เป็นแอพพลิเคชันที่ช่วยให้การเรียนการสอนสนุกสนานยิ่งขึ้นทำให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น การบริการ (ปิงปอง) (PingPong) มีดังนี้ 
1. ถ่ายทอดสดการตรวจสอบการตอบสนอง ทำให้รู้การตอบสนองของนักเรียนทันที                          
2. การใช้งานโดยอิสระไม่มีเงื่อนไขใดๆผูกมัด                                                                                       3. มีการเก็บข้อมูลแล้วแสดงผลทางกราฟ     การเรียนเช่นนี้ จะทำให้นักเรียนลดการเผชิญหน้ากับครู                     การใช้แอพปิงปอง จะเป็นผู้ช่วยของครูผู้สอนในการตรวจสอบการตอบสนองของนักเรียนแบบการแสดงให้เห็นผลในทันที  ด้วยความพร้อมของแอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong)  ประกอบไปด้วยหลากหลายตัวเลือกเช่น คำถามเรียงความ  ,
O / X  , การวาด  , การเชื่อมต่อกับ Evernote , การจับเวลา , เลือกนักเรียนแบบสุ่ม
วิธีการใช้แอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong)
1.การตอบกลับคำถามแบบทันทีแอพพลิเคชันจะตรวจสอบคำตอบแบบเรียลไทม์โดยกราฟ,และภาพรวมของทั้งชั้นเรียน ซึ่งมีแบบทดสอบทั้งหมดอยู่ 4 ชนิด คือ คำถาม , การอภิปราย, โหวตและอื่น ๆ ที่สามารถนำมาใช้อย่างอิสระ
2.สามารถสร้างและตั้งค่าแบบทดสอบจากอุปกรณ์สมาร์ทและสามารถดูผลลัพท์ได้
3.ซิงค์อุปกรณ์กับEver-note และสะดวกใช้บทเรียนที่สร้างขึ้นจากEver-note ในชั้นเรียน
4.นักเรียนสนใจและทำให้มีสมาธิในชั้นเรียนโดยใช้เครื่องมือที่มีประโยชน์ เช่นกระดาน ,จับเวลาและการสุ่มเลือกนักเรียน
การทำห้องเรียนให้นักเรียนมีส่วนร่วมโดยใช้แอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong)
1. นักเรียนตอบคำถามของครูได้โดยอุปกรณ์ของตัวเองทันที
2. ครูจะทราบการตอบสนองของนักเรียนโดยดูผลแสดงของกราฟ
3. ครูผู้สอนบันทึกช่วงเวลาในการเตรียมการสอน โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มีอยู่ในแอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong)      
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในศตวรรษที่ 21
1.มีความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอนอย่างลึกซึ้ง
2.มีความรู้และเชี่ยวชาญในการสอน
3.สามารถพัฒนาหลักสูตรได้
4.วางแผนการสอนและแบบเรียนที่แน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5.มีการคิดค้น ดำเนินการสอนที่ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ได้
6.ให้นักเรียนเรียนรู้จากการสืบเสาะหาความรู้
7.ช่วยให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติของวิทย์ คณิต และเทคโนโลยี
8.เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาเจตคติทักษะต่างๆที่ช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
จากการใช้แอพพลิเคชัน (ปิงปอง) (PingPong) จะเห็นได้ว่า นักเรียนจะเป็นผู้ทำกิจกรรมร่วมกับครูนั่นแสดงถึงการที่เราให้นักเรียนเป็นศูนย์กลางเพราะการเรียนการสอนนั้นผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากกว่าทักษะการท่องจำ การฟัง ซึ่งตรงกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของครูในศตวรรษที่ 21 ในข้อที่ “4.วางแผนการสอนและแบบเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง” ในขณะเดียวกันแอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong) ไม่เป็นเพียงแอพพลิเคชันที่ใช้ในการจัดการศึกษาเท่านั้น หากแต่ยังสามารถใช้ในการจัดประชุมสัมมนาทั่วไป ที่จะต้องมีการรับฟังเสียง การแสดงความคิดเห็น การแสดงการตอบสนองต่อผู้เข้าร่วม เช่น การปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ก็มีกิจกรรมให้นักศึกษาใช้แอพพลิเคชัน(ปิงปอง) (PingPong)ในการตอบสนองต่อวิทยากรบนเวที เป็นต้น
สรุป
บทบาทของครูในขณะที่ครูเมื่อเข้ามาอยู่ในสังคมออนไลน์ ก็จักต้องเป็นผู้ควบคุมสอดส่องดูแลนักเรียนเพื่อให้นักเรียนอยู่ในโลกไร้พรมแดนนี้อย่างมีขอบเขต  ไม่ใช่ครูปล่อยให้ใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลในการร่วมกิจกรรมกับแอพพลิเคชัน แต่นักเรียนกลับใช้เวลานั้น ในการอินเตอร์เน็ตทำกิจกรรมอื่นใดที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เกี่ยวกับการเรียน
ในด้านการพัฒนาการศึกษา อาศัยจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาขึ้นทุกวัน จึงนำนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการศึกษาไทยมากยิ่งขึ้น นี่จะเป็นการลดช่องว่างระหว่างนักเรียนและครูผู้สอน ลดการเผชิญหน้าโดยใช้แอพพลิเคชันในการสื่อสารกันและกัน

ในปัจจุบันระบบการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 คือสิ่งที่จำเป็นต่อระบบการศึกษาไทย  การเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมมากขึ้นนอกเหนือจากการเป็นผู้ฟังบรรยาย นั่นหมายความว่า ครูเป็นผู้มีกลยุทธ์พิเศษจะเป็นการเรียนการสอนที่นักเรียนมีทักษะความจำมากขึ้น เพราะนักเรียนจะไม่ได้เฉพาะทักษะการฟังอย่างเดียว จะได้ทักษะการคิดในขณะนั้น และทักษะการพูด การสื่อสาร ทำให้ข้อมูลที่เรียนได้ จัดเก็บอยู่ในความจำระยะยาว เช่นหากเราอยู่เฉยๆ นั่งฟังอะไรก็ตามเฉยๆ ซักวัน มันก็จะลืมลบหายไป แต่ถ้าการฟังอะไรครั้งนั้น มีเหตุการณ์อะไรเข้ามา มันก็จะทำให้นสถานการณ์นั้นเหตุการณ์นั้นเปลี่ยนจาก ความจำ กลายเป็น ความทรงจำ ซึ่งเปรียบได้กับการศึกษาเช่นกัน หากเราฟังบทเรียนฟังบรรยายจากครู เราก็จะได้เพียงแค่ความจำระยะสั้น แต่ หากเรามีการใช้สื่อการเรียนรู้ ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต แอพพลิเคชันต่างที่ครูผู้สอนจัดให้ ก็จะเป็นการเรียนที่มีสถานการณ์ ซึ่งการเรียนในสถานการณ์นั้น ก็ จะทำให้ผู้เรียนได้จำระยะเวลาจำเหตุการณ์นั้นได้ ซึ่งนั่นคือองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นและจะถูกจัดเก็บในความจำระยะยาวและกลายเป็น ความทรงจำ ในที่สุด

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

บทความวิชาการ "“การเพิ่มบทบาทของผู้เรียนในชั้นเรียน คือการวัดความเซียนในตัวครู”"

เป็นบทความวิชาการในวิชาสัมมนาทางคอมพิวเตอร์ศึกษา 2

จะมาลงในบล๊อกนี้ ในไม่ช้า ^^

รอติดตามชมกันได้ครับ

วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

Project 2 : โปสเตอร์ Close your small book to Open your big world



           











 [ภาพส่งครั้งแรก]        [ภาพที่ปรับปรุงตามข้อคิดเห็นจากเพื่อนและอาจารย์]

ชื่อผลงาน : Close your small book to Open your big world
คำอธิบาย/แนวคิด :
การเรียนรู้ในยุคปัจจุบันนั้นไม่สามารถอาศัยเพื่อนการอ่าน หรือการนั่งเรียนเพียงแต่ภายในห้องเรียนเท่านั้น แต่ควรจะเปิดกว้างทางความคิด และลองลงมือปฏิบัติสิ่งต่างๆ เพื่อให้เกิดความรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่ข้อความรู้จากตำราหรือหนังสือ


คำติชม : ได้รับข้อคิดเห็นจากภาพทีส่งไปครั้งแรกว่า การมีเส้นข้างล่างคล้ายรูปทรงลูกบาศก์ และ มีแนวเส้นตรง ขึ้นไป ทำให้เหมือนอยู่ในห้อง เป็นการปิดกั้น ซึ่ง ขัดแย้งกับหัวข้อโปสเตอร์  อาจารย์แนะนำให้ใช้เป็นสีและเป็นเส้นที่แฉกออกไปคล้ายๆกับ การเปล่งแสงของดวงอาทิตย์

สร้างสรรค์โดย :
นายขินภัทร จันทร์เรือง 563050171-5
นายณัฐวุฒิ รุ่งวิสัย 563050172-3
นายปิยภัทร เสลาวรรณ์ 563050176-5
นายกิตติภูมิ เรืองเสน 563050239-1

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

Project 1 : E-Newsletter [ infographic กับการศึกษาในศตวรรษที่ 21]


E-Newsletter คือ นำเสนอ email marketing การตลาดด้วยจดหมายอิเล็คทรอนิกส์ในโหมดกราฟิกในรูปแบบ HTML สร้างความสวยงามและน่าเชื่อถือ และที่ให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับ การส่งจดหมายอิเล็คทรอนิกส์แบบธรรมดา Enewsletter เป็นตัวเชิญชวนให้เห็นโฆษณาสินค้าของคุณ เช่น โบว์ชัวร์ส่งเข้าไปอีเมล์ผู้รับ

ในกลุ่มของเรา เน้นไปที่ ทฤษฎี 3 ซึ่ง แบ่ง ตำแหน่งของชิ้นงา นออกเป็ น3 ส่วนหลัก(โดยนายณัฐวุฒิ  รุ่งวิสัย) 
หัวข้อที่เลือกเกี่ยวกับการศึกษา คือ : infographic กับการศึกษาในศตวรรษที่ 21
เนื่องจาก ในปัจจุบัน infographic  ช่วยให้ นักเรียนสามารถจำเนื้อหาต่างๆได้ง่าย และนอกจากด้านการศึกษาแล้ว ก็ สามารถใช้ในด้านธุรกิจ ด้านการนำเสนอ เพื่อเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย 

นายชินภัทร  จันทร์เรือง  563050171-5
นายณัฐวุฒิ  รุ่งวิสัย  563050172-3
นายปิยภัทร  เสลาวรรณ์  563050176-5
นายกิตติภูมิ  เรืองเสน  563050293-1

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

21 มกราคม 2558

เข้าเรียน ได้รับงาน โปรเจคต่างๆ ตามที่อาจารย์ เอาขึ้นสไลด์

กลุ่มจัดทำงาน มี 4 คน
1.นายชินภัทร  จันทร์เรือง  563050171-5
2.นายณัฐวุฒิ  รุ่งวิสัย 563050172-3
3.นายปิยภัทร  เสลาวรรณ์ 563050176-5
4.นายกิตติภูมิ  เรืองเสน 563050293-1